คำสั่ง show interfaces

คำสั่ง show interfaces


คำสั่ง show interfaces เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงค่าพารามิเตอร์ที่ได้ถูกจัดตั้งไว้แล้ว รวมทั้งสถิติการทำงานของ อินเทอร์เฟส แบบเวลาจริงที่เกิดขึ้นบน router ในขณะนั้น คำสั่งนี้มีประโยชน์มาก ในการใช้เพื่อติดตามดูอินเทอร์เฟส ชนิดเจาะจง หรือเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้เปลี่ยนแปลง Configuration ของ อินเทอร์เฟสไปแล้ว ข้อมูลอันเป็นสถิติที่ทานจะได้จาก router หลังจากที่เรียกคำสั่งนี้ มีดังนี้
                        •  สถานะของ Interface
                        •  ค่า maximum transmission unit ของอินเทอร์เฟส (ค่า Maximum Transmission Unit หรือ MTU เป็นค่าที่กำหนดขนาดของเฟรมหรือ แพ็กเก็ตที่ Router จะอนุญาติให้วิ่งผ่านได้โดยไม่ต้องมีการทำแฟลกเมนตหรือแบ่งขนาดของแพ็กเก็ตออกเป็นส่วนๆ)
                        •  ค่าไอพีแอดเดรสของอินเทอร์เฟส
                        •  แสดง MAC Address ของ LAN Card
                        •  ชนิดของ Encapsulation ที่ใช 
                        •  จำนวนของแพ็กเก็ตที่ได้รับมาทั้งหมด
                        •  จำนวนของแพ็กเก็ตที่เกิดความผิดพลาด ขณะที่วิ่งเข้าวิ่งออกจาก Router
                        •  จำนวนของ Collision ที่ถูกตรวจพบ (หากอินเทอร์เฟสที่ใช้เป็นระบบอีเทอร์เน็ต)
 
คำสั่ง Show interface เป็นคำสั่งที่มีประโยชน์มาก ในการพิสูจน์ดูการทำงานของ Router อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาด จากการทำงานของ Router และเครือข่าย ต่อไปนี้เป็นหน้าจอที่แสดงข่าวสาร หลังจากใช้คำสั่ง show interface


Router#show interfaces Serial0 is up, line protocol is up
Hardware is MK5025 Internet address is 183.8.64.129, subnet mask is 255.255.255.128 MTU 1500 bytes, BW 56 kbit, DLY 20000 usec, rely 255/255, load 9/255 Encapsulation HDLC, loopback not set, keepalive set (10 sec) Last input 0:00:00, output 0:00:01, output hang never Last clearing of "show interface" counters never Output queue 0/40, 0 drops:input queue 0/75, 0 drops Five minute input rate 1000 bits/sec, 0 packets/sec Five minute output rate 2000 bits/sec, 0 no buffer
331885 packets input, 62400237 bytes, 0 no buffer Received 230457 broadcasts, 0 runts, 0 giants 3 input errors, 3 CRC, 0 frame, 0 overrun, 0 ignored, 0 abort 403591 packets output, 66717279 byres, 0 underruns 0outputerrors,0collisions,8interfaceresets,0restarts45 carrier transitions 

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้คำสั่งที่สำคัญสำหรับ Router Cisco ซึ่งท่านที่จะดูแลระบบเครือข่ายอาจต้องพิจารณาศึกษาการใช้คำสั่งต่างๆ เพื่อประโยชน์การใช้งาน Router สูงสุด

กระบวนการ Routing ในระบบเครือข่าย 


        ก่อนที่จะได้กล่าวถึงวิธีการจัดตั้ง Configuration การทำงานและการเชื่อมต่อของ Router ผู้เขียนใคร่ขอกล่าวถึง หลักการทำงานเบื้องต้นของ Router รวมทั้งลักษณะความพยายามที่คอมพิวเตอร์พึ่งพาอาศัย Router เพื่อการจัดหาเส้นทาง และนำข้อมูลข่าวสารไปสู่ปลายทาง

การจัดเลือกเส้นทาง (Routing)
การจัดเลือกเส้นทางเป็นหัวใจหลักในการทำงานของคอมพิวเตอรและ Router บนเครือข่าย การจัดเลือกเส้นทางสามารถเกิดขึ้น ได้ที่ 2 จุดๆ หนึ่งได้แก่ การเลือกเส้นทางที่เกิดขึ้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่าย และอีกจุดหนึ่งคือการจัดเลือกเส้นทางจากตัว Router
แน่นอนที่เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย และที่ Router ต่างจะต้องมีข้อมูลข่าวสารอยู่ในตัวที่เรียกว่า ตารางเลือกเส้นทาง หรือ Routing Table ซึ่งข้อมูลข่าวสารภายใน ตารางเลือกเส้นทางของทั้งสอง จะมีเนื้อหาสาระค่อนข้างจะแตกต่างกันออกไป 

ตารางเลือกเส้นทางของเครื่องคอมพิวเตอร
เมื่อใดที่ท่านพิมพ์คำว่า route print หรือ netstat -r ที่หน้าจอ Command prompt ด้วยคำสั่งใดคำสั่งหนึ่ง ท่านจะได้พบเห็นข้อมูลข่าวสาร ดังรูปที่ 1 นี้
 

รูปที่ 1 แสดงข้อมูลข่าวสารภายในตาราง routing table ของ เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
 
ข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏใน ตารางเลือกเส้นทางของ เครื่องคอมพิวเตอรมีความหมายดังนี้
                        •  0.0.0.0 เป็นแอดเดรสของเส้นทางปริยาย (default route)
                        •  แอดเดรส ของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ตัวอย่างในรูปที่ 1 ไดแก 200.20.20.10
                        •  แอดเดรสที่แสดงเครือข่ายนั้น ๆ ในที่นี้ได้แก 200.20.20.0
                        •  แอดเดรสที่ใช้เพื่อการ Broadcast ทั่วไป ในที่นี้ไดแก255.255.255.255 โดยแอดเดรสนี้จะถูกจำกัดใช้เฉพาะเพื่อการ Broadcast เข้าไปหาเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ บนเครือข่าย เมื่อ Router ไดรับแพ็กเก็ตนี้แล้ว จะไม่ยอมปล่อยออกไปที่เครือข่ายอื่นๆ โดยเด็ดขาด 
                        •  224.0.0.0 เป็นแอดเดรสปริยาย (Default) สำหรับ Multicast (Multicast หมายถึงการสื่อสารข้อมูลไปยังผู้รับที่เป็นกลุ่มเป็นการเฉพาะโดยไมเจาะจงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือทุกคน)
                        •  127.0.0.1 เป็นแอดเดรสที่ถูกเรียกว่า Loop back Address โดยที่เป็นแอดเดรสสงวนที่ถูกนำมาใช้เพื่อทำ Diagnostic สำหรับคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย
                        •  ค่า Default Gateway ในที่นี้ คือ 200.20.20. 17 ค่า Default Gateway เป็นไอพีแอดเดรสของตัว Router ที่เชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่ายโดยที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องภายในเครือข่าย ที่มี Router เป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายนี้กับเครือข่ายอื่น จะต้องมีค่า Default Gateway ที่ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย ใช้เป็นที่อ้างอิง เพื่อออกจากเครือข่าย (ผ่านทาง Router) ไปสู่ภายนอก ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีค่า Default Gateway อยู่ในตารางเลือกเส้นทางทุกเครื่องเสมอ เว้นเสียแต่ว่า เครือข่ายของท่านไม่เชื่อมอยู่กับใคร และไม่ต้องมี Router จึงไม่ต้องมี Default Gateway
                   •  200.20.20.255 เป็นค่าแอดเดรสที่เครือข่ายนี้ใช้เพื่อการ Broadcast ไปยังเครือข่ายเดียวกัน หรือเครือข่ายอื่น ซึ่ง Router จะมองค่าแอดเดรสนี้ เป็น Broadcast Address ประเภทเจาะจง หมายความว่า Router จะยอมให้ การเกิด Broadcast อันเนื่องจากแอดเดรสนี้ สามารถถูกส่งผ่านออกไปทาง Router เพื่อไปที่จุดหมายปลายทางที่เครือข่ายอื่น 

หน้าถัดไป