วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

คำสั่งพื้นฐานการใช้งานระบบปฏิบัติการ UNIX (Linux)

คำสั่งเกี่ยวกับ File System

Path คือที่อยู่ของ File หรือ Directory ในระบบ Unix แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
Absolute Path อ้างอิงจาก / (เรียกว่า root directory เป็น Directory เริ่มต้นของระบบ File)
ตัวอย่างการ /etc/passwd เป็นที่อยู่ของ File ที่เก็บรายละเอียดของผู้ใช้งาน
ในระบบ
Relative Path อ้างอิงจาก Directory ที่ทำงานอยู่ปัจจุบัน (Working Directory) การอ้างอิง
แบบ Relative มีสัญลักษณ์แทน Directory ปัจจุบันเป็น . (จุด)และ Directory
ที่อยู่เหนือขึ้นไปหนึ่งระดับ (Parent Directory) แทนด้วย .. (จุดสองจุดติดกัน)
Wildcard เป็นสัญลักษณ์แทนชื่อ File หรือ Directory
* แทนตัวอักษรกี่ตัวก็ได้ (ชื่อ File เป็นอะไรก็ได้)
? แทน 1 ตัวอักษร
Working Directory การอ้างอิงถึง File หรือ Directory ที่ไม่เป็นแบบ Absolute Path จะเป็นการ
อ้างอิงกับ Working Directory เสมอ
การแสดง Working Directory
หลังจาก login เข้าสู่ระบบแล้ว จะแสดง Command Prompt ของ Shell ถ้าต้องการแสดง Directory
ปัจจุบันที่ทำงานอยู่ใช้คำสั่ง pwd (Print Working Directory) ได้ผลลัพธ์ดังนี้
#----------
pwd
/root
#-----------
แสดงว่าปัจจุบันทำงานอยู่ที่ Directory /root (Working Directory)

และยังมีคำสั่งเำพิ่มเติมอีก เช่น การเปลี่ยน Working Directory , การจัดการ File ,  การจัดการเกี่ยวกับ Directory , คำสั่งแสดงข้อมูลใน File ,  คำสั่ง ln สำหรับสร้าง Link เป็นต้น  สามารถดาวน์โหลดตามลิ้งค์ด้านล่างเลยครับ เป็น ไฟล์นามสกุล pdf

คำสั่งที่จำเป็นสำหรับตรวจสอบระบบ เมื่อพบสิ่งผิดปกติ [Unix OS เท่านั้น]

ท่านใดที่ถูก hack ก่อนตั้งคำถามกรุณาตรวจสอบด้วยตัวเองเบื้องต้น ดังนี้ครับ

1. เข้าไปดู log file ของ apache ครับในนั้นจะมี ip ให้ดูอยู่ และก็ดูว่าก่อน apache จะ down มี ip ไหนข้างบ้าง และเข้าไปที่ file ไหนบ้าง
2. คำสั่ง last เพื่อดูว่ามีใคร login เข้ามาบ้าง ทั้งจาก ssh และ ftp (มี ip ให้เช่นกัน)
3. คำสั่ง dmesg ดูว่ามี error อะไรแปลกๆ บ้าง
4. คำสั่ง netstat -a เพื่อดูว่าขณะนั้นมีใคร connect เข้ามาบ้าง มี port อะไรเปิดอยู่บ้าง
5. คำสั่ง top เพื่อดู process อะไรรันอยู่บ้าง และ process อะไรใช้ CPU high สุดที่เป็นสาเหตุให้เครื่องช้า (แบบ real time)
6. คำสั่ง ps -U root เพื่อดู process ของ root ว่ามี process อะไรแปลกๆ บ้าง



ที่มา : http://www.thaiadmin.org/

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ตั้งเวลาปิดเครื่องอัตโนมัติ Windows XP


ใน Windows XP มีความสามารถอันนึงที่มักพบได้ในโทรทัศน์ รุ่นใหม่ ๆ นั่นคือ "ตั้งเวลาปิดเครื่อง" (Sleep Timer) สําหรับงานนี้พระเอกของเราก็คือโปรแกรม SHUTDOWN.EXE โดยจะทํางานจากใน Command Prompt (CMD) ซึ่งมีสวิตช์การทํางานร่วมกับคําสั่งที่น่าสนใจมากมาย อาทิเช่น
  • l   ล็อกออฟผูใช้ในขณะนั้น
  • s  ชัตดาวน์คอมพิว-เตอร์ของคุณ  
  • r   รีบูตหลังจากชัต-ดาวน์
  • a  ยกเลิกตารางการชัตดาวน์
  • f   บังคับปิดแอพ-พลิเคชันที่กำลังทํางาน (ควรใช้อย่างระมัดระวัง)
  • m [\\ชื่อเครื่องคอม-พิวเตอร์] ระบุเครื่องที่ต้องการให้ชัตดาวน์
  • t   [xx] กําหนดใหชัตดาวน์ภายใน [xx] วินาที(ปกติ20 วินาที)

ที่มา : เกาเหลา Super Trip (www.arip.co.th)