ตารางเลือกเส้นทางของ Router

ตารางเลือกเส้นทางของ Router

 ตัว Router จำเป็นต้องมีตารางเลือกเส้นทาง เช่นเดียวกัน ตารางเลือกเส้นทางของ Router ไดมาจาก 2 วิธีการ ได้แก
                        •  วิธีการที่จัดตั้งโดยผู้บริหารจัดการเครือข่าย
                        •  วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารโดย โปรโตคอลเลือกเส้นทาง Routing Table

ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในตาราง Routing Table ของ Router ประกอบด้วย ข่าวสารเกี่ยวกับ Network Address ที่แวนพอร์ตแต่ละแห่งของมัน รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ หากท่านต้องการดูข้อมูลภายในตารางเลือกเลือกเส้นทางของ Router ท่านสามารถพิมพ์คำสั่ง และจะมีข้อมูลข่าวสารปรากฏดังนี้

Router# show ip route Codes: c - connected, S - static, I - IGRP, R - RIP, M - Mobile, B - BGP D - EIGRP, EX - EIGRP external, O -OSPF, IA - OSPF inter area N1 - OSPF NSSA external type 1, N2 - OSPF NSSA external type 2 E1 - OSPF external type 1, E2 - OSPF external type 2 , E - EGP I - IS-IS , L1 -IS-IS level-1 , L2 - IS-IS level-2, * - candidate U - per-user static route, o - ODR  Gateway of last resort is not set C           204.204.8.0/24 is directly connected, Serial0 C           204.204.7.0/24 is directly connected, Serial1 I             223.8.151.0/24 [ 100/8576] via 204.204.7.1, 00:00:11, Serial1 I             199.6.13.0/24 [100/10476] via 204.204.7.1, 00:00:11, Serial1 S           201.100.11.0/24 [1/0] via 204.204.8.2 C           210.93.105.0/24 is directly connected, Ethernet0

จากข้อมูลในตารางเลือกเส้นทาง เราสามารถแบ่งประเภทข้อมูลออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
                        •  วิธีการที่ใช้เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับ เส้นทาง ตัวอย่าง เช่น I ในตารางตัวอย่างนี้ แสดงถึงการใช้โปรโตคอลชื่อ IGRP เป็นต้น
                        •  Network Address ปลายทาง ตัวอย่าง เช่น 199.6.13.0 แสดงให้เห็นว่าเป็น Subnetwork
                        •  Administrative Distance แสดงให้เห็นถึงวิธีการที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือได้ในการเรียนรูเกี่ยวกับเครือข่ายนี้ (คำว่าเรียนรูในที่นี้ หมายถึง Router เรียนรูสถานะและความมีตัวตนของเครือข่ายนี้) ค่ายิ่งน้อยยิ่งดี ค่า 100 เป็นค่าปริยายของโปรโตคอล IGRP 
                        •  ค่า Routing Metric ค่านี้ เป็นค๋าที่นำมาใช้เพื่อการคำนวณดูเพื่อหาว่า เส้นทางใดจะมีความเหมาะสมต่อการใช้เดินทางมากกว่า เส้นทางอื่น โดยค่าของ Metric ในที่นี้อาจเป็น ได้ที่เป็นระยะทางค่า Delay ความเร็ว หรือจำนวนของ Hop เป็นต้น



ตัวอย่างการจัดตั้ง Router เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ดังรูปที่ 2


รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างการจัดตั้ง Configuration ภายนอกของ Router เพื่อเชื่อม 2 เครือข่าย
 
  จากรูปที่ 2 เป็นตัวอย่างแสดงการเชื่อมต่อ 2 เครือข่ายด้วย Router ที่ใชNetwork Address ที่ต่างกัน ซึ่งลักษณะการเชื่อมต่อแบบนี้ ท่านจะต้องใช3 Network Address หรือท่านอาจจะใช้ Network Address เดียว แล้ว แบ่งออกเป็น หลายๆ เครือข่ายย่อย หรือ Subnet ก็ได้ จะเห็นได้ว่า ที่คอมพิวเตอรแต่ละเครื่องจะต้องมีค่า Default Gateway เหมือนกันทุกเครื่อง ซึ่งค่า Default Gateway นี้ เป็นไอพีแอดเดรสของ Router ที่เชื่อมต่อตรงกับเครือข่าย 
กระบวนการ Routing    

ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนแสดงกระบวนการ Routing จากรูปที่ 2 มีรายละเอียดดังนี้
สมมติว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ A ซึ่งมีไอพีแอดเดรส 192.168.2.3 ต้องการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอรB ซึ่งมีไอพีแอดเดรส 192.168.5.7 ซึ่งอยู่คนละเครือข่าย แต่เชื่อมต่อกันโดย Router ดังนั้นกระบวนการ Routing มีดังนี้
1. คอมพิวเตอรA จะนำเอาค่าไอพีแอดเดรสของเครื่องตนเองมาทำการ AND กันในทางตรรกจนไดNetwork Address 192.168.2.0
2. คอมพิวเตอรA นำเอาค่าไอพีแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอรB มาทำการ AND กัน ในทางตรรกอีกครั้ง จนกระทั่งได้ค่า Network Address เป็น 192.168.5.0 มาถึงตรงนี้เอง ที่คอมพิวเตอร์ A จะทราบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์  B อยูคนละเครือข่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ คอมพิวเตอร์ A จะทำการตรวจสอบตารางเลือกเส้นทางในตัวมันเอง เพื่อดูว่า Default Gateway มีค่าไอพีแอดเดรสเป็นอย่างใด
3. หลังจากที่ตรวจพบค่าไอพีแอดเดรสของ Default Gateway อันเป็นประตูทางออกของเครือข่าย แล้ว คอมพิวเตอร์ A จะใช้โปรโตคอลชื่อ ARP เพื่อติดต่อขอทราบค่า MAC Address ของ Default Gateway จาก Router (หากในเครื่องคอมพิวเตอร์ A ไม่ได้ เก็บค่า MAC Address ของ Router ไว้ในขณะนั้น) ซึ่ง Router จะส่งกลับมาให้คอมพิวเตอรA
4. หลังจากที่ไดMAC Address มาแล้ว คอมพิวเตอรA จะนำมันมากรอกเข้าไปในช่องเก็บข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแอดเดรสของเฟรม จากนั้นก็ส่งออกไปจากการ์ดแลนแล้วมุ่งตรงไปสูRouter
5. เมื่อ Router ไดรับเฟรมจาก คอมพิวเตอรA แล้ว มันจะตรวจสอบความถูกต้องของเฟรม จากนั้น ทำการถอดเฟรมดังกล่าวออก เหลือแต่แพ็กเก็ต ขบวนการนี้เราเรียกว่า Decapsulation ซึ่งก็คือการถอดเฟรมออกในที่นี้ จากนั้น Router จะเอาแพ็กเก็ตมาอ่านค่าไอพีแอดเดรสเพื่อที่จะดูว่า ไอพีแอดเดรสปลายทางที่ คอมพิวเตอรA ต้องกาจะติดต่อด้วยคือใครอยู่ที่ใด โดยนำมันมาเปรียบเทียบดูในตารางเลือกเส้นทาง ของ Router ก็จะทราบว่า มีอยู่หรือไมหากมีอยู่และทราบว่าเส้นทางที่จะส่ง Packet ออกไป อยู่ ที่พอร์ตใด เช่น Serial0 หรือ Serial1 
6. เมื่อแพ็กเก็ตถูกส่งออกไปแล้ว Router ปลายทาง ตรวจพบแพ็กเก็ตก็จะนำมันมาตรวจสอบความถูกต้องของแพ็กเก็ตรวมทั้งไอพีแอดเดรส จากนั้น Router จะ ใช้ ARP Protocol ทำการสอบถาม MAC Address ของคอมพิวเตอรB (หากในตัว Router ไม่ได้เก็บค่า MAC ของคอมพิวเตอร์ต่างๆไว้ใน ARP Cache) 
       7. เมื่อ Router ได้รับ MAC Address มาจากคอมพิวเตอ์ B แล้ว ก็นำมันมาสร้างเฟรม โดยเอาแพ็กเก็ตที่ได้รับมาใส่เข้าไปในเฟรม จากนั้นส่งออกไปที่ เครือข่าย เดินทางไปสู่คอมพิวเตอร์ B อันจบสิ้นกระบวนการ Routing